Posted by: npnfe | เมษายน 29, 2009

ประเพณีก่อเจดีย์ทราย

ประเพณีก่อเจดีย์ทราย

ประวัติของการก่อพระเจดีย์

21

เมื่อถึงคราวทำบุญที่วัด บรรดาพุทธสาวกทั้งหลายก็จะพากันทำกับข้าวกับปลามาทำบุญที่วัดในตอนเช้า เมื่อเสร็จพุทธกิจกันแล้ว ก็พากันกลับบ้านสบายอกสบายใจกันไป แต่หารู้ไม่ว่าตนเองได้นำทรายของวัดติดเท้ากลับไป ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีกุศโลบาย ซื้อทรายเข้าวัดและจัดประกวดแข่งขัน ก่อพระเจดีย์ทราย ในวันสงกรานต์ เพื่อนำทรายกลับเข้าวัดอีกครั้งหนึ่ง และยังเป็นการแนะการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับพุทธสากนิกชนอีกด้วย

              เมื่อสมัยของปู่ ของปู่  ย่า ตา ยาย พากันก่อพระเจดีย์ทรายมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ซึ่งถือปฏิบัติต่อๆ กันมานับกว่า 100 ปีได้ ซึ่งจากการสอบถาม ปู่ย่า ตายาย เล่าให้ฟังว่าตั้งแต่ยังเด็กปู่ย่า จายายของท่านได้พาก่อพระเจดีย์ทรายตั้งแต่จำความได้
 การก่อพระเจดีย์ทรายเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ เจ้าขัน นานขัน แม่ซื้อ แม่หา เจ้ากรรม นายเวร ปู่ย่า ตายาย ซึ่งจะก่อพระเจดีย์ทรายในวันที่ 14 ค่ำเดือน 4 หรือเรียนตามภาษาชาวบ้านว่า เดือนสี่ดับ หรือวันโกน พอถึงวันก่อจะรู้กันเองและเริ่มขนทรายเข้าวัดกันช่วงบ่ายของวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 4 ทรายส่วนใหญ่ก็จะนำมาจากลำห้วยแถวๆ  หมู่บ้าน ตอนเย็นก็เริ่มก่อพระทรายกันช่วยกันก่อตังแต่ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่พี่น้องจนถึงลูกหลานมาช่วยกันก่อนพระทราย และตกแต่งให้สวยงามคอบครัวละกองแล้วแต่ว่าขนาดจะใหญ่หรือเล็ก พระทราย 1 กอง ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย ดอกไม้ กระบอกน้ำหรือขวดน้ำ จะใส่น้ำและแป้งหอมไม้ขาว จะทาสีให้สวยงามก็ได้หรือไม่ถาก็ได้ ที่ขาดไม่ได้ก็ คือ เขียนธง
เขียนธง คือ เราจะเขียนของมาและอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าขัน นานขัน แม่ซื้อ แม่หา  เจ้ากรรม นานเวร พระแม่คงคา เจ้าป่า เจ้าเขา ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ล่วงลับไปแล้ว และจะโยงายสินจากพระประธานบนศาลา ก่อพระทรายเสร็จก็จะพรมน้ำผสมแป้งหอมและโรยแป้งหอมบนพระทรายพอตอนค่ำก็จะจุดธูปเทียนที่พระทรายและก็ฟังพระสวดข้างพระทรายของตนเองและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุสล พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็ไปทำบุญตักบาตรที่วัด ซึ่งตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 14 จะทำบุญตักบาตร 3 วันและพระทรายก็จะทิ้งไว้จนครบสามวันถึงจะรื้อได้ ตามความเชื่อที่ว่าช่วงสามวันที่ทิ้งไว้ เจ้าขัน นายขัน แม่ซื้อ แม่หา เจ้ากรรม นายเวร พระแม่ธรณี พระแม่คงคา เจ้าป่า เจ้าเขา ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ล่วงลับไปแล้ว จะมาตรวจพระทราย ตรวจธง มาอ่านธงที่เราเขียน ตามความเชื่อ ถือของชาวบ้าน ที่เล่าให้ฟังต่อๆ กันมาการก่อพระเจดีย์ทรายนี้ก็ทำกันมาตั้งแต่การก่อตั้งวัดชมพู
ประมาณ 200 ปี หรือ มากกว่านั้นก็เป็นไปได้จากการเล่าต่อๆ กันมา และถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ประเทศไทย ถือเป็นชนชาติที่มีความเก่าแก่ มีรากฐานทางวัฒนธรรม แสดงความเป็นไทยมายาวนานยิ่ง วัฒนธรรมที่แตกต่างกันในสังคมไทย สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข ล้วนแต่ผูกพันด้วยวิถีแห่งพระพุทธศาสนา
           จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ประชาชนที่อาศัยอยู่มีการผสมผสานกันอย่างหลากหลาย ประกอบด้วย ชาวเพชรบูรณ์ดั้งเดิม ชาวไทยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่
ทำให้วัฒนธรรมและประเพณีชาวพื้นเมืองเพชรบูรณ์ ได้รับผสมผสานอย่างหลากหลาย
ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ชาวเพชรบูรณ์ ยังร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานไว้จวบจนปัจจุบัน  ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายกลบธาตุ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกือบจะสูญหายไปกับกาลเวลาแล้ว
           ต่อมา นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของของประเพณีดังกล่าว ได้สนับสนุนและฟื้นฟูให้ประเพณีอันทรงคุณค่านี้ คงอยู่คู่กับจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่เดิมก่อนถึงวันงาน 1 วัน จะมีการตีฆ้องป่าวประกาศให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมงานประเพณีก่อเจดีย์กลบธาตุ
           ครั้นเมื่อถึงกำหนดงาน ชาวบ้านจะนำธาตุหรืออัฐิของญาติที่เสียชีวิต ภายในระยะเวลา 3 ปี มากลบธาตุ ส่วนธาตุหรืออัฐิ ก่อนจะนำมาประกอบพิธีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ บรรดาญาติพี่น้องจะนำไปล้างทำความสะอาดและใช้น้ำอบ น้ำหอม มาประพรมให้สะอาด
       
                  เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน ที่พยายามสื่อถึงความไม่เที่ยงของสังขาร เพื่อให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต ดำรงตนอยู่ด้วยการมีสติ อีกทั้ง เป็นการนำอัฐิมาสัมผัสกับธาตุทั้งสี่ ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความหมายว่า มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยธาตุลม เมื่อหมดลม ร่างกายจะถูกนำไปเผาด้วยไฟ คงเหลือแต่อัฐิเท่านั้น หลังบรรดาญาติพี่น้อง ได้นำอัฐิมาชำระล้างด้วยน้ำให้สะอาดแล้ว วันรุ่งขึ้น จะนำธาตุพร้อมกับทรายไปก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ โดยแต่เดิม จะนำอัฐิใส่หม้อใบเล็ก นำไปบรรจุไว้ภายในกองทรายทันที แต่ปัจจุบัน ได้นำอัฐิเก็บใส่โกศและวางไว้ข้างเจดีย์ทรายแทน ส่วนธาตุหรืออัฐิที่เก็บไว้เกินสามปีแล้ว จะไม่นำมาก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุอีก แต่ญาติจะนำไปลอยอังคารหรือนำไปบูชาที่บ้านหรือบรรจุไว้ที่วัด
           หลังจากถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ในช่วงบ่าย ชาวบ้านจะนำภาชนะบรรจุธาตุวางไว้ข้างเจดีย์ เปิดฝาภาชนะบรรจุธาตุ พร้อมจุดธูปหนึ่งดอก ปักลงไปในภาชนะบรรจุธาตุ เพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับทราบและอนุโมทนาบุญกุศลที่บรรดาญาติได้ทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ไว้ในช่วงเทศกาลวันตรุษ หลังจากที่ประชาชนได้ก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุเสร็จสิ้น พระภิกษุสงฆ์ ทำพิธีสวดบังกุศลและเจริญพระพุทธมนต์เย็น

           ทรายแต่ละเม็ดที่ก่อรวมกันเป็นเจดีย์ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันโยงใยให้เครือญาติได้กลับมารวมตัวกัน โดยแต่ละครอบครัวจะนำทรายมาจากบ้านคนละเล็กคนละน้อย มาก่อรวมกันเป็นเจดีย์ร่วมกันประดับประดาตกแต่ง ตั้งแต่ขั้นตอนกำหนดรูปแบบเจดีย์ ก่อทรายตามแบบที่กำหนดไว้ ประดับประดาด้วยดอกไม้ธงทิวหรือสิ่งอื่นใด สร้างความอบอุ่นและร่วมมือกันของสมาชิกในครอบครัว โดยมีผลงานปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรม คือ เจดีย์ทราย
           เช้าวันรุ่งขึ้น ประชาชนจะมาร่วมทำบุญตักบาตรที่วัด ในอดีตงานประเพณีดังกล่าว ถือเป็นช่วงหยุดการทำงานของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นช่วงเสร็จสิ้นการทำนา ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ชาวบ้านจะอยู่กรรม 3 วัน คือ ทุกคนจะหยุดทำงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านและในบ้าน พร้อมกับรวมตัวเล่นการละเล่นต่างๆ ในวัด อาทิ การร้องเพลงฉ่อยพื้นบ้าน การเล่นดึงหนัง การเล่นนางด้ง การฟ้อนแม่ศรี การเล่นลิงลม เป็นต้น
           ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงคุณงามความดี ความผูกพันต่อบรรพบุรุษและความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว
ความสำคัญ
           การก่อพระเจดีย์ทรายเป็นประเพณีที่ชาวไผ่ดำ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้กระทำสืบทอดกันมาแต่อดีตกาล วัตถุประสงค์เพื่อนำเอาทรายมาใช้ทำสาธารณประโยชน์ในวัด
ส่วนการก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวไผ่ดำ ที่นำเอาผลผลิตจากอาชีพการทำนา คือ ข้าวเปลือก มาก่อเป็นเจดีย์แทนทราย
พิธีกรรม
           การก่อพระเจดีย์ทรายเนื่องจากสภาพท้องถิ่นของหมู่บ้านไผ่ดำ เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจึงทำให้ไม่มีทรายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเลย การก่อพระเจดีย์ทรายของชาวไผ่ดำ จึงเปลี่ยนจากการขนทรายมาเป็นการซื้อทรายจากทางวัด ซึ่งที่วัดไผ่ดำจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อน ว่าจะมีการการก่อพระเจดีย์ทรายในวันพระไหน เมื่อถึงวันกำหนดประชาชนก็จะไปทำบุญและก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน จากนั้นก็มีการประกวดความสวยงามของพระเจดีย์ ว่าใครตกแต่งได้ดีกว่ากัน
การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวัน เมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ ควบคู่ไปกับการทำบุญ ข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป

สาระ
             การก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ มาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา อีกทั้งสร้างนิสัยด้านการบริจาค ความสามัคคีแก่ผู้คนในชุมชน
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
  มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
           แต่ก็มีคนโบราณบางท่านได้กล่าวไว้ว่า เวลาที่เราไปทำบุญที่วัด เราอาจจะเหยียบเอาทรายติดตัวกลับมาด้วย จึงต้องขนทรายกลับไปไว้ดังเดิม นี่อาจจะเป็นกุศโลบายของคนโบราณก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย แต่ต้นตำรับเดิมผมก็หาข้อมูลมาให้ท่านได้รู้แล้ว หรือบางท่านอาจจะรู้แล้วก็ได้ สงกรานต์ปีนี้อย่าพลาดการก่อเจดีย์ทรายสวยๆ เพื่อบูชาพระรัตนไตรด้วยนะครับ

    22
อานิสงค์การก่อเจดีย์ทราย

    อานิสงค์การก่อเจดีย์ทรายการที่เรานึกถึงสิ่งใดแล้วทำให้ใจเราผ่องใส สูงส่ง และมีความสุขยิ่งนึกถึงบ่อย ก็ยิ่งมีความสุข เพิ่มยิ่งขึ้น สิ่งนั้นจะต้องมี ความบริสุทธิ์มากๆและมีอานุภาพยิ่งใหญ่ ไม่มีประมาณ การนึกถึงพระสัมมา สัมพุทธเจ้า เท่านั้นทำให้ใจสูงส่ง มีความสุข เพราะพระองค์มี พระคุณ ยิ่งใหญ่ต่อสรรพสัตว์แต่เพียงอย่างเดียว
           แม้พระดาบสผู้เป็น นักบวชในกาลก่อน เมื่อชีวิตก้าวขึ้นสู่จุดที่สูงส่งมีลูกศิษย์ ที่ให้ความ เคารพมากมาย เฉพาะที่ออก
บวชตามก็มากถึง ๔๐,๐๐๐ คน ยังต้องนึกถึง และบูชาพระสัมมา สัมพุทธเจ้าดังเรื่องของดาบส นามว่า “ นารทะ ”
            ย้อนไปในอดีตยาวนานนับแสนกัป ได้มีดาบสท่านหนึ่ง ถือเพศเป็นนักบวช สร้างอาศรมบทบำเพ็ญพรต อยู่ที่ภูเขา ลูกหนึ่งชื่อว่า เหมกะ ไม่ไกลจาก ภูเขาหิมวันต์เป็นผู้มีตบะธรรม แก่กล้า ทรงอภิญญา สมาบัติ มีลูกศิษย์เป็นชฎิล
คอยอุปัฏฐากบำรุง ให้ความเคารพ สักการบูชามากถึง ๔๐,๐๐๐ องค์
           ตัวท่านเองมาคิดว่า มหาชนพากันมาบูชาเรา แต่เราไม่ได้บูชาสิ่งใดเป็นการไม่สมควรเลย ผู้ที่จะว่ากล่าว สั่งสอนก็ไม่มี เราเป็นคน ไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์ เป็นคนอนาถา ไร้ที่พึ่งที่ระลึก จึงมานั่ง ใคร่ครวญดูว่า เราควรแสวงหาบุคคลที่เรา ควรเคารพบูชา ชีวิตจึงจะมีคุณค่า การอยู่ป่าก็ จะไม่เปล่า ประโยชน์เนื่องจากเป็นผู้ทรง อภิญญา สามารถ ระลึกชาติได้ถึง 40 กัป จึงระลึกชาติย้อนหลังไปดูก็ได้พบ ผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ คือพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเกิดความปีติเลื่อมใส ดีใจว่า เราได้พบ อาจารย์ผู้เป็นที่สักการบูชาแล้ว
           ในที่ไม่ไกลจากอาศรม ของท่านมีแม่น้ำสายหนึ่ง ซึ่งมีชายหาดที่ราบเรียบ สวยงามน่ารื่นรมย์ใจ เต็มไปด้วยทราย ที่ขาวสะอาด ท่านจึงไปที่ หาดทรายนั้นตะล่อมเอาทราย มาก่อเป็นเจดีย์ทราย ขึ้น เพื่อเป็น เครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อก่อพระเจดีย์เสร็จแล้ว ก็ให้หุ้มปิด ด้วยแผ่นทองคำ กลายเป็นเจดีย์ทองที่สูงค่า แล้วก็นำดอก กระดึงทองมา ๓,๐๐๐ ดอกกระทำการบูชาที่เจดีย์นั้น เกิดความอิ่มเอิบ เบิกบานใจ ได้ประณมมือไหว้ทั้งในเวลาเช้า และเวลาเย็น โดยมีจิตเคารพ เลื่อมใส ในพระสัมมา สัมพุทธเจ้าประดุจว่ากระทำการบูชาต่อเบื้องพระพักตร์
     

      คราวใดที่เกิดกิเลส นึกถึงกามารมณ์ ท่านก็จะมองไปที่พระเจดีย์นั้นนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวสอนตนว่า “ ท่านควรระวังกิเลสไว้ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ การปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้น ไม่สมควรแก่ท่านเลย ”เมื่อท่านนึกพระเจดีย์ทราย ก็เกิดความเคารพ ขึ้นมาพร้อมกัน กล่าวสอนตนอยู่อย่างนั้น ความนึกคิดที่น่ารังเกียจ ก็ระงับไป ความเลื่อมใสเข้ามาแทนที่ท่านบูชาพระเจดีย์ มีพุทธานุสสติเป็น อารมณ์อยู่อย่างนั้นทุกค่ำเช้า จนตลอด เมื่อละโลกแล้วได้ไป บังเกิดในพรหมโลก เสวยพรหมสมบัติ มีความสุขอยู่ในฌานสมาบัติ ตลอดกาลนาน เมื่อสิ้นอายุขัย ของพรหมแล้วก็ได้ เลื่อนลงมาเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นท้าว สักกะจอมเทพ อีกยาวนานถึง ๘๐ ครั้ง หมดบุญจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระราชาธรรมดา อีกนับครั้งไม่ถ้วน เพราะผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย และทำการบูชา ด้วยดอกกระดึงทองนั้นจะไปเกิดในที่ไหนก็มี ผิวกายละเอียด งดงามดังทอง ฝุ่นละอองไม่จับผิวกายภพชาติสุดท้าย ในสมัยพุทธกาล ได้มาเกิดใน ตระผมลพราหมณ์มหาศาล มีโภคสมบัติมากได้เห็นมารดา บิดานำสถูป ทองออก มาบูชาโดยมุ่งตรงต่อ พระบรมศาสดา ทุกวันจึงนึกถึงเจดีย์ ทราย หุ้มทอง ในอดีตของตน จึงออกบวชเป็นสามเณร อยู่กับพระสารีบุตรเถระ เนื่องจากเคยมี พุทธคุณเป็นอารมณ์อยู่แล้ว เมื่อเจริญภาวนา นั่งเพียงแค่ครั้งเดียว ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตั่งแต่อายุ ๗ ขวบ พระบรมศาสดา ทรงทราบ ถึงการ บรรลุคุณวิเศษของท่าน จึงทรงประทาน การอุปสมบท ให้เป็นพระภิกษุ แต่นั้นมา
 
ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้สอบถามจาก คนเฒ่าคนในหมู่บ้าน ซึ่งได้แก่
  1. นายเครื่อง แตงล้าน  อายุ 73 ปี
  2. นายดี  เขียวปัญญา อายุ 83 ปี
  3. นางนบ แตงล้าน  อายุ 73 ปี
  4. นางแป๊ะ เขียวปัญญา อายุ 77 ปี
  5. นายต่าย  โฉมงาม  อายุ 80 ปี

ประเพณีก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติในเทศกาลปีใหม่ไทย  ซึ่งจัดขึ้นในตอนเย็นของวันที่ 14 เมษายน
           จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทำให้เราทราบว่าการก่อเจดีย์ทราย นี้เกิดจากความเชื่อว่าเป็นการสร้างปราสาทหรือที่อยู่ไว้บนสวรรค์ เวลาที่ตายไปจะได้มีที่อยู่อาศัยซึ่งได้สร้างไว้ก่อนแล้ว เพราะในสมัยก่อนคนจะเชื่อในระบบโลกภูมิเรื่องสวรรค์ ทั้งนี้เพราะความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบากยากเข็ญ และมีการแข่งขันกันสูงในสังคม พวกเขาต้องหาที่พึ่งทางใจ การเชื่อเรื่องสวรรค์เป็นหลักประกันกับชีวิตว่าจะมีความสุขเมื่อละสังขารไป อย่างน้อยก็เป็นความสุขทางใจยามมีชีวิตอยู่นั่นเอง
       สำหรับการปฏิบัติในอดีตนั้น ชาวบ้านจะพากันไปตักทรายตามแม่น้ำในหมู่บ้าน ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมได้ทางหนึ่ง การขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทรายนี้ มีภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นแฝงอยู่ด้วย   คือทรายที่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างศาสนสถานต่างๆที่ยังสร้างไม่เสร็จภายในวัดนั่นเอง

            ผู้เฒ่าผู้แก่จะก่อเจดีย์ทรายของหมู่บ้าน 1 กอง หลังจากนั้นแต่ละครอบครัวแต่ละเครือญาติ ก็จะมาร่วมกันก่อเจดีย์ทรายเป็นของเครือญาติอีก 1 กอง เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก  สำหรับการก่อเจดีย์ทรายร่วมกันนั้น เพราะจะได้ทำให้คนในเครือญาติได้ใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ก่อให้เกิดการยอมรับและความสงบสุขตามมา

           ปัจจุบันนี้วิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เปลี่ยนไป ไม่มีการขนทรายเข้าวัดอีกต่อไป เพราะมีผู้นำมาบริจาคให้เป็นลำรถ เพียงเพราะคิดว่าพวกเขาได้ทำบุญที่ยิ่งใหญ่ โดยขาดความเข้าใจว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการทำลายภูมิปัญญาความสัมพันธ์ของคนในสังคม และทำให้ประเพณีก่อเจดีย์ทรายเลือนหายไปจากกิจกรรมที่ในเทศกาลปีใหม่ไทยของเรา

ซึ่งจากการสอบถามจาก ปู่ย่า ตายาย ที่กล่าวมานี้ ได้เล่าให้ฟังเหมือนกัน ซึ่งถือได้ว่าชาวบ้านชมภูได้สืบทอดวัฒนธรรมและรักษาประเพณีอันดีงามนี้มาโดยตลอดและเป็นที่น่าภูมิใจของลูกหลานและจะยังคงรักษาไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน

23


ใส่ความเห็น

หมวดหมู่